เวลาทำการ

11.00 - 20.00 วันอังคาร - วันอาทิตย์

ติดต่อสอบถาม

phone 064-654-6414
login

โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ผิวกระดูกอ่อน ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ  

ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม 

  • อายุอายุมากมีโอกาสเป็นมาก เนื่องจากใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน 
  • เพศเพศหญิงเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า 
  • น้ำหนักผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่า 
  • พฤติกรรมผู้ที่นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆ 
  • เล่นกีฬาที่มีการปะทะมักเกิดการปะทะบริเวณหัวเข่า ทำให้หัวเข่าบาดเจ็บ เป็นเหตุให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น 
  • อุบัติเหตุผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมีการกระแทกที่ข้อเข่า หรือกระดูกข้อเข่าแตก เอ็นฉีก ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น 
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกคนที่ไม่ออกกำลังกายมักมีกล้ามเนื้อข้อเข่าและกระดูกข้อเข่าที่ไม่แข็งแรง 

 

กณฑ์วินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม 

มีอาการปวดข้อเข่าและภาพรังสีแสดงกระดูกงอก ประกอบกับมีปัจจัยอย่างน้อย 1 ใน ประการดังต่อไปนี้ 

  •  อายุมากกว่า 50 ปี  
  •  ระยะเวลาที่ข้อฝืดตึงช่วงเช้าน้อยกว่า 30 นาที  
  • มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่าจากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อ 

อาการโรคข้อเข่าเสื่อม 

 

ก่อนทำการรักษาข้อเข่าเสื่อม เราต้องรู้ก่อนว่า อาการเข่าเสื่อมของเรา อยู่ในระยะไหน โดยข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 (ระยะเริ่มต้น) : เป็นช่วงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า สูญเสียไปบ้างเล็กน้อย แต่เข่าสามารถใช้งานได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว เพราะจะแค่รู้สึกปวดหัวเข่าบ้าง ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายที่สุด สามารถรับประทานอาหารบำรุงเข่า รับประทานยาสมุนไพรแก้ปวดเข่าได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเคมี 
     
  • ระยะที่ 2 (ข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อย) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อน และ บางลง กระดูกที่งอกออกมาเป็นปุ่ม รู้สึกปวดข้อเข่า ข้อเข่าฝืดติดขัดบ้าง เริ่มมีเสียงในกระดูกเวลาขยับเข่าบ้าง แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายอยู่ 
     
  • ระยะที่ 3 (ข้อเข่าเสื่อมปานกลาง) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และ สึกกร่อนมาก ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่า เริ่มแคบลง กระดูกข้อเข่ามีเสียดสีกันจนอักเสบ ทำให้ข้อฝืดแข็ง และ มีเข่าบวม ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหัวเข่ามาก เดินได้ไม่คล่องตัว มีเสียงในข้อเข่าขณะเดินด้วย เป็นระยะที่สามารถทำการรักษาข้อเข่าเสื่อมได้อยู่ แต่ต้องใช้ระยะเวลารักษานานพอสมควร 
     
  • ระยะที่ 4 (ข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย) : เป็นช่วงกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าสึกกร่อน เกิน 60% กระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ มีขนาดใหญ่ขึ้น อาการปวดเข่า เสียงในเข่า ข้อเข่าติดขัดจะแสดงชัดเจน มากกว่าระยะที่ 3 จนถึงขั้นกระดูกข้อเข่าชิดติดกัน ทำให้รู้สึกปวดหัวเข่ามาก ข้อเข่าเกิดการผิดรูปด้วย ไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องตัว หรือ บางคนอาจไม่สามารถเดินได้เลย ซึ่งเป็นระยะที่รักษาข้อเข่าเสื่อมได้ยากที่สุด อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดร่วมด้วย 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 

การรักษาโรคเข่าเสื่อมมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ระยะของโรค โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวดข้อเข่า  

ชะลอการดำเนินโรค ฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อน  

เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด  

 

การรักษามีดังนี้  

การรักษาโดยไม่ใช้ยา  

แพทย์จะให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้ผู้ป่วยพยายามลดปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เข่าเสื่อมลุกลาม  

  • โปรแกรมกายภาพบำบัดลดปวด เช่น การใช้เลเซอร์ การฝังเข็ม การใช้ความร้อน การใช้สนามแม่เหล็ก  
  • การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า  
  • การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น การใช้ไม้เท้า  การใช้สนับเข่า เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงของข้อเข่า   
  • การลดน้ำหนัก  

การรักษาโดยยา แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ยารับประทานตามอาการของโรค  

รวมถึงการใช้ยาทาเฉพาะ ประเภทที่เหมาะสมตามอาการของแต่ละราย  

ในปัจจุบันมีการใช้ยาหลายกลุ่ม ได้แก่ 

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการควบคุมอาการ 
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ 
  • ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อเช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด เป็นยาทางเลือกสำหรับข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้น 
  • ยาทาภายนอกช่วยลดอาการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากยารับประทาน 
  • การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อเป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น 
  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเป็นทางเลือกในกรณีข้อเสื่อมรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น 

 

การรักษาโดยการผ่าตัดแนะนำในผู้ป่วยที่รักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยาร่วมกันแล้วแต่อาการปวดไม่บรรเทาเท่าที่ควร